คณะพยาบาลศาสตร์
Faculty of Nursing, Maejo University

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 อาจารย์มาลี ล้วนแก้ว คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมตัวแทนคณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี พร้อมนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อแสดงความจงรักภักดี ณ อาคารแผ่พืชน์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นได้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จำนวน 199 ต้น จาก 6 สายพันธุ์ ได้แก่ เอื้องจำปา เอื้องพวงหยก เอื้องสายน้ำผึ้ง เอื้องสายไหม เอื้องสายหลวง หวายเหลืองจันทบูรณ์ ณ บริเวณศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ และร่วมปล่อยปลา จำนวน 90,040 ตัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ ฝายลำน้ำห้วยโจ้ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปรับปรุงข้อมูล : 16/8/2566 5:58:56     ที่มา : คณะพยาบาลศาสตร์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 220

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.จริยาพร ศรีสว่าง และคุณศกุนตลา จินดา(ผู้แทนคณะฯ) เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ  โดยมี ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนกว่า 100 คน โดยร่วมปลูกต้นรวมผึ้ง จำนวน 50 ต้น และปล่อยกล้วยไม้ไทย จำนวน 100 ต้น ณ บริเวณลานหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยแม่โจ้นอกจากนั้น กิจกรรมในครั้งนี้ ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการพัฒนาอันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) ทั้งยังมีการบูรณาการในด้านการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับใช้ภายนอกห้องเรียน และชีวิตประจำวันให้เข้ากับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม
4 พฤศจิกายน 2567     |      35