คณะพยาบาลศาสตร์
Faculty of Nursing, Maejo University

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัด "โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีประเพณีล้านนา กินอยู่เพื่อสุขภาพ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง" ในวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 ณ ฐานเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร “บ้านเย็นตาเกษตรอินทรีย์” ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ และให้แนวทางข้อคิดในการประยุกต์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา เกษตรอินทรีย์ ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชาโภชนาศาสตร์ โดยฐานเรียนรู้อยู่ในชุมชนชาวไตลื้อ โดยคุณบาลเย็น สุนันตา บรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอยู่การกินของชาวไทลื้อ เศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการนี้แบ่งฐานเรียนรู้ออกเป็น 3 ฐาน 1.ฐานเรียนรู้การทำโจ๊กจากข้าวอินทรีย์ โดยคุณบาลเย็น สุนันตา เป็นวิทยากให้ความรู้ 2. ฐานเรียนรู้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน โดยคุณอัมพร ปัญญา เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน ในการบำบัดโรค และฤทธิ์ทางยา 3.ฐานการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การหาดัชนีมวลกาย การตรวจหาปริมาณน้ำตาลในเลือด การตรวจหาสารยาฆ่าแมลงตกค้างในเลือด โดยโครงการนี้เป็นการบูรณาการกับรายวิชา 11701216 โภชนศาสตร์ บทที่ 15 เกษตรอินทรีย์และการบริโภคอาหารเกษตร อินทรีย์เพื่อสุขภาพ ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ ทำให้นักศึกษามีความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี และบูรณาการด้านบริการวิชาการ ให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่ได้ฝึกปฏิบัติจริงในการให้บริการวิชาการแก่อาสาสมัครชุมชน ชาวบ้านในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 9:43:02     ที่มา : คณะพยาบาลศาสตร์     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 171

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้บริการวิชาการโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง โดยผู้ดูแล (Caregiver) และแกนนำในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีบุญเรือง ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
คณาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง โดยผู้ดูแล (Caregiver) และแกนนำในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีบุญเรือง ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 87 คน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีบุญเรือง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่โครงการนี้จัดขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้ดูแลและแกนนำในชุมชน โดยแบ่งการเรียนรู้เป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในภาคเช้าได้จัดฐานเรียนรู้ 5 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 อาหารและโภชนาการ ฐานที่ 2 การป้องกันแผลกดทับและการดูแลแผล ฐานที่ 3 การใช้ยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ฐานที่ 4 การทำกายภาพและการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และฐานที่ 5 สรุปบทบาทของผู้ดูแลสำหรับภาคบ่าย เป็นการให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การเสริมสร้างความเข้มแข็งในครอบครัวและชุมชน พร้อมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมาระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม"การอบรมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแล (Caregiver) และ อสม. ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน โดยเฉพาะผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องกิจกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงพันธกิจของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการบริการวิชาการแก่สังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน
8 พฤษภาคม 2568     |      45
ผู้ช่วยคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติครั้งที่ 11 มุ่งเน้นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร ศรีสว่าง ผู้แทนคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" (The 11th National Conference on Algae and Plankton: "Algae & Plankton Innovation for Sustainable Development Goals (SDGs)"การประชุมนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ให้การต้อนรับคณะนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจที่เข้าร่วมงานการประชุมวิชาการครั้งสำคัญนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
8 พฤษภาคม 2568     |      36